เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ 7 ประการนี้แล*.
แม้พระเถระครั้นยกเทศนาอย่างนั้นขึ้นกล่าวว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ
- นิททสวัตถุ 7
ดังนี้.

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส
ว่าด้วย อภิภายตนะ 8


ในคำว่า อฏฺฐ อภิภายตนานิ - อภิภายตนะ 8 นี้ มีความ
ว่า อายตนะทั้งหลายครอบงำฌานเหล่านั้น ฉะนั้น ฌานเหล่านั้นจึง
ชื่อว่า อภิภายตนะ. คำว่า อายตนานิ ความว่า ฌานมีกสิณเป็น
อารมณ์กล่าวคืออายตนะเพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งอันยิ่ง.
อธิบายว่า ก็บุคคลผู้มีญาณอันยิ่ง ผู้มีญาณแกล้วกล้าคิดว่า อัน
เราพึงเข้าในอารมณ์นี้ เพราะเหตุไร ? ภาระในการทำจิตให้เป็นเอกัคค-
ตา ไม่มีแก่เราดังนี้ แล้วครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเสียเข้าสมาบัติ, ยัง
อัปปนาให้เกิดขึ้นในอารมณ์นี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต. ฌานที่
ให้เกิดขึ้นโดยประการอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อภิภายตนะ. อภิภายตนะ
8 เป็นไฉน ?

1. องฺ. สตฺตก. 23/18.

1. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทราม
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 1.
2. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกไม่มีประมาณ มีวรรณะดีและทราม
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 2.
3. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทราม ครอบงำ
รูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เรา
เห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 3.
4. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกไม่มีประมาณ มีวรรณะดีและทราม
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 4.

5. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน
มีรังสีเขียว, ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว
เขียวล้วน มีรังสีเขียว, หรือว่าผู้ที่กำเนิดในเมือง
พาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว
เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มี
วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว ฉันนั้น
เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ
สำคัญอย่างนี้ เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะ
ที่ 5.
6. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง
ล้วน มีรังสีเหลือง, ดอกกรรณิกาอันเหลือง มี
วรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง, หรือว่า
ผู้ที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง-
เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
แม้ฉันใด, ผู้ใดมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง

ล้วน มีรังสีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูป
เหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เรา
เห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 6.
7. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มี
รังสีแดง, ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง
แดงล้วน มีรังสีแดง, หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมือง
พาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง
แดงล้วน มีรังสีแดง แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มี
วรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง ฉันนั้นเหมือน
กัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้
ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 7.
8. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มี
รังสีขาว, ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณะขาว
ขาวล้วน มีรังสีขาว, หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมือง
พาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว
ขาวล้วน มีรังสีขาว แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ

สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มี
วรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 81.


อรรถกถานวกนิทเทส
ว่าด้วย อนุปุพพวิหารธรรม 9


คำว่า นว อนุปุพฺพวิหารา - อนุปุพพวิหาร 9 มีความว่า ภาย
หลังแห่งธรรมมีในก่อน ๆ ชื่อว่า อนุปุพพะ - ตามลำดับ, วิหาระ -
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ ชื่อว่า อนุปุพพวิหาระ เพราะเป็นธรรม
อันพระโยคีบุคคลพึงอยู่ คือพึงเข้าอยู่ตามลำดับ, อธิบายว่า ธรรมเป็น
เครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ. อนุปุพพวิหารธรรม 9
เป็นไฉน ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เข้าปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มี
วิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

1. ที. ปา. 11/349.